แชร์

การเลี้ยงแมลง BSF ในไทย

อัพเดทล่าสุด: 8 ก.ค. 2024
595 ผู้เข้าชม

ปัจจุบันประเทศไทยมองเห็นศักยภาพหนอนแมลง Black Soldier Fly-BSF ในการผลิตอาหารสัตว์ และมีการศึกษาพัฒนาการเลี้ยงเพื่อผลิตอาหารสัตว์แล้วหลายโครงการในรูปแบบโครงการนำร่อง (Pilot Program) และมีการเลี้ยงตามบ้านในหลายพื้นที่ แต่ยังไม่มีการเลี้ยงเป็นระบบอุตสาหกรรมครบวงจรแบบในต่างประเทศ


ดังนั้นการเปิดตัวฟาร์มเพาะแมลง Black Soldier Fly-BSF และโรงงานผลิตอาหารสัตว์จากหนอนแมลง BSF ของบริษัท แพชชั่น สเปซ จำกัด PASSION SPACE CO.,LTD จึงเป็นการพัฒนาการเลี้ยงไปสู่การลงทุนในรูปแบบอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง และเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์มีทางเลือกอาหารโปรตีนสำหรับสัตว์เลี้ยง เนื่องจากโปรตีนที่ผลิตจาก BSF ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูง สะอาด และปราศจากสิ่งเจือปนอื่นๆ



ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของ PASSION SPACE ได้แบ่งการเลี้ยงเป็น 4 วัตถุประสงค์หลักดังนี้

1.1 เลี้ยงเพื่อแปรรูปเป็นอาหารสัตว์หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อส่งเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์

1.2 เลี้ยงเพื่อแปรรูปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง หรือแปรรูปเพื่อเป็นอาหารเสริมในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และสัตว์เลี้ยง หรือแปรรูปใช้สำหรับสัตว์เลี้ยง

1.3 เลี้ยงเพื่อใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์

1.4 เลี้ยงเพื่อนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์หรือวัตถุดิบในอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนภายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน



วัตถุประสงค์ทั้ง 4 ข้อ มีผลต่อต้นทุนที่แตกต่างกันตามต้นทุนของอาหารที่นำมาเลี้ยงหนอน (และมาตรฐานต่างๆในอนาคต)

1) การเลี้ยงเพื่อวัตถุประสงค์ในข้อ (1.1) อาหารที่นำมาเลี้ยงหนอน BSF ต้องสามารถควบคุมคุณภาพทั้งในแง่ของปริมาณและสารอาหารที่สม่ำเสมอ ของต้องไม่ขาด สารอาหารไม่เหวี่ยง เพราะหนอน BSF ควรจะต้องมีปริมาณและสารอาหารที่สม่ำเสมอ มีความเหมาะสมในการนำไปเป็นอาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์ในระดับอุตสาหกรรม

หมายความว่า อาหารที่ใช้ต้องมีคุณค่าทางโภชนการดี เลี้ยงหนอนได้ดี โตเร็ว มีขนาดสม่ำเสมอ และวันที่เก็บหนอนต้องตรงเวลาในระยะใกล้เคียงกันในแต่ละรอบ ทำให้สามารถวางแผนการผลิตได้

อาหารรูปแบบนี้จะมีราคา แต่แลกมาด้วยอัตราแลกเนื้อ (FCR) ต่ำ (ถือเป็นข้อดี)


ยกตัวอย่าง

อาหารชนิดหนึ่ง (สารอาหารเหมาะสม) ราคา กก. ละ 3 บาท นำมาเลี้ยงหนอนจนถึงระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ที่ อายุ 15 วัน มี FCR ที่ 2:1 (ให้อาหาร 2 หน่วย ได้หนอนสดระยะเก็บเกี่ยว 1 หน่วย)

# ใช้อาหาร 2 กก = ได้ หนอนสด 1 กก

# 3 บาท x 2 กก = 6 บาท คือ ต้นทุน หนอนสด 1 กก.

หมายเหตุ ราคาอาหารที่นำมาเลี้ยงหนอน อาจแตกต่างกัน ต่ำหรือสูงขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณสารอาหาร และความต้องการของตลาด ซึ่งสารอาหารจะมีผลต่อค่า FCR ที่มีผลโดยตรงต่อต้นทุน


หนอนอบแห้ง หรือ หนอนบดผง

อัตราส่วนหนอนสด : หนอนอบแห้ง

5 กก. หนอนสด : 1 กก. หนอนแห้ง (อัตราส่วนโดยประมาณ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงได้)

5 กก. หนอนสด = 30 บาท

ดังนั้น 30 บาท คือต้นทุนเฉพาะวัตถุดิบ หนอนอบแห้งหรือหนอนบดผง

ตัวเลขนี้ยังไม่รวมต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าโรงเรือน ค่าขนส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงงาน ค่าอุปกรณ์ ถุงบรรจุ ค่าทำมาตรฐานการผลิต (ถ้ามี) และ ยังไม่รวม บวกเปอร์เซ็นต์กำไรที่ต้องการ และภาษี (ถ้ามี) เพื่อตั้งเป็นราคาขาย และอื่นๆ

เมื่อคำนวณตัวเลขคร่าวๆ แล้วจะเห็นได้ว่า การผลิตเพื่อวัตถุประสงค์ ข้อ 1.1 ต้องใช้การผลิตปริมาณมาก เพื่อลดต้นทุนราคาวัตถุดิบ ผลิตมาก สามารถต่อรองราคาอาหารหนอน ต้นทุนจะลดลง ราคาขายจะสามารถถูกลงได้ เพราะการเลี้ยงหนอนตามวัตถุประสงค์ข้อ 1.1 ต้องแข่งขันกับ ปลาป่น หรือกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักเดิม ที่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ถ้าราคาหนอน BSF อบแห้งหรือหนอน BSF ผง เท่ากันหรือถูกกว่า รวมทั้งมีปริมาณที่สม่ำเสมอและคุณค่าทางโภชนาการที่ดี ก็จะสามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้

หวังว่า ข้อมูลจะเป็นไอเดีย ให้ผู้ที่สนใจเลี้ยงแมลง BSF เพื่อวัตถุประสงค์ ข้อ 1.1 ได้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง
บีเอสเอฟ ฟาร์ม เอาใจใส่ดูแลทุกขั้นตอนการเลี้ยงหนอนแมลง BSF ให้มีมาตรฐานสูง
บีเอสเอฟ ฟาร์ม เป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงแมลง Black Soldier Fly (BSF) ป้อนส่งให้โรงงานผลิตโปรตีน แพชชั่น สเปช ที่มีการพัฒนาการเลี้ยงหนอนแมลง BSF ยกระดับให้มีมาตรฐานสูง
8 ส.ค. 2024
Thailandbsf
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
มีอะไรให้ฉันช่วยไหม?
เริ่มแชท
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy